
12 ตุลาคม 2563
ผู้ชม 12070 ผู้ชม
สติกเกอร์บาร์โค้ต (Barcode Sticker)
มีอยู่รอบๆ ตัวเรา และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการระบุอัตลักษณ์ (Identification) ตรวจสอบย้อนกลับ (Tractability)
เราจะเห็นได้ว่าการใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆธุรกิจ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมโรงงาน สินค้าอุปโภคบริโภค คลังสินค้า ธุรกิจขนส่ง
ทางการแพทย์ และอาหาร เป็นต้น
เรามาทำความรู้จักกับสติกเกอร์บาร์โค้ตกันก่อนดีกว่า สติกเกอร์มีหลากหลายชนิด แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าของเราควรใช้สติกเกอร์เนื้ออะไร
เพื่อเหมาะสมกับการใช้งาน โดยจะแบ่งตามประเภทของเครื่องที่ใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ตที่ ได้ดังนี้
แบบที่ 1 สติกเกอร์ที่พิมพ์ข้อความด้วยหมึก หรือริบบอน(Thermal Transfer)
สติกเกอร์เนื้อกระดาษ ไม่สามารถกันน้ำได้ ฉีกขาดง่าย ใช้ริบบอนนชนิด Wax หรือ Wax-resinก็เพียงพอ
•สติกเกอร์กึ่งมันกึ่งด้าน เป็นที่นิยมและแพร่หลายในท้องตลาด เนื่องจากราคาประหยัด
และคุณภาพในการพิมพ์ดี
•สติกเกอร์เทอร์มอลทรานเฟอร์ เป็นเนื้อที่ผลิตมาเพื่อรองรับงานพิมพ์จากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ตโดยเฉพาะ
ให้ความคม ชัด รับหมึกริบ บอนได้ดี
•สติกเกอร์ขาวมัน มีความสวยงาม เนื้อกระดาษมัน เงา
•สติกเกอร์ขาวด้าน เหมือนเนื้อกระดาษปอนด์ ผิวด้าน ส่วนใหญ่นิยมใช้กับเครื่องพิมพ์ระบบ Dot Matrix
หรือนำมาผลิตสติกเกอร์เจาะรูหนามเตย เช่น LQ-590 LQ-2090 เป็นต้น
สติกเกอร์เนื้อฟิล์ม เป็นเนื้อฟิล์มฉีกไม่ขาด กันน้ำ แต่ละเนื้อมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป รองรับการใช้งาน
และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ต้องใช้หมึกพิมพ์ หรือริบบอนตั้งแต่ Wax-resin และ Resin เท่านั้น
สติกเกอร์เนื้อกระดาษ
•สติกเกอร์เนื้อไดเรคเทอร์มอล ไม่ต้องใช้ริบบอน ผิวเนียน เรียบ ส่วนใหญ่นิยมนำมาติดอาหารสด
ป้ายสินค้า ราคา หรือสินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็ว เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท เป็นต้น
สติกเกอร์เนื้อฟิล์ม
•สติกเกอร์เนื้อฟิล์มไดเรคเทอร์มอล ไม่ต้องใช้ริบบอนในการพิมพ์ เหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการกันน้ำ ฉีกไม่ ขาด และอยู่ในอุณหภูมิติดลบ -40 องศา
เช่น กลุ่มธุรกิจอาหารแช่แข็ง อาหารส่งออก เป็นต้น